การบันทึกข้อความครั้งที่ 9
วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2561
เวลา 8.30-11.30
ความรู้ที่ได้รับ
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
การพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีจริยธรรมนั้น
จะต้องใช้ระยะเวลา โดยเริ่มตั้งแต่วัยต้นของชีวิต
ทั้งนี้การพัฒนาจริยธรรมนั้นมีแนวทางการพัฒนาโดยอาศัยทฤษฎี
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
เมื่อเลือกพฤติกรรมจริยธรรมที่ต้องการพัฒนาให้เด็กปฐมวัยได้แล้ว
ผู้สอนจะนำทฤษฎีการพัฒนาจริยธรรม มาสู่การออกแบบการสอน ดังนี้
1. การใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ ทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้สิ่งของที่เด็กพึงพอใจเสมอไป การให้รางวัลในที่นี้หมายรวมถึงการให้คำชมเชย ยกย่อง ยอมรับ การแสดงความชื่นชมที่เหมาะสม ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป ส่วนการลงโทษก็มิได้หมายถึงการทำโทษทางกายและทางใจให้เด็กเจ็บปวด หรืออับอายขายหน้า อาจเป็นเพียงการงดหรือยกเว้นสิทธิบางอย่าง การไม่ให้ความสำคัญ หรือลดความสำคัญลง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการชี้แจงให้เหตุผล ทั้งนี้ ข้อแนะนำในการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีดังนี้
1.1 ต้องยึดหลักความชัดเจนของข้อกำหนดว่าสิ่งใดเป็นพฤติกรรมดีหรือไม่ดี และต้องให้เด็กรับทราบ
1.2 ยึดความเป็นระบบ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการชัดเจนว่า เมื่อใดจะได้รางวัล และเมื่อใดจะมีผลถึงการลงโทษ
1.3 ยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
1. การใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ ทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้สิ่งของที่เด็กพึงพอใจเสมอไป การให้รางวัลในที่นี้หมายรวมถึงการให้คำชมเชย ยกย่อง ยอมรับ การแสดงความชื่นชมที่เหมาะสม ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป ส่วนการลงโทษก็มิได้หมายถึงการทำโทษทางกายและทางใจให้เด็กเจ็บปวด หรืออับอายขายหน้า อาจเป็นเพียงการงดหรือยกเว้นสิทธิบางอย่าง การไม่ให้ความสำคัญ หรือลดความสำคัญลง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการชี้แจงให้เหตุผล ทั้งนี้ ข้อแนะนำในการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีดังนี้
1.1 ต้องยึดหลักความชัดเจนของข้อกำหนดว่าสิ่งใดเป็นพฤติกรรมดีหรือไม่ดี และต้องให้เด็กรับทราบ
1.2 ยึดความเป็นระบบ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการชัดเจนว่า เมื่อใดจะได้รางวัล และเมื่อใดจะมีผลถึงการลงโทษ
1.3 ยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยจะมีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน
ดังนี้
1. การรับรู้ เกิดจากการที่เด็กได้รับประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมแล้วเกิดความเข้าใจ ยินดีที่จะเรียนรู้ และสนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีการเตรียมตนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
2.การจัดระเบียบ หลังจากสร้างค่านิยม และยอมรับค่านิยมแล้ว จะนำมาคิดพิจารณาและรวบรวมค่านิยม นำมาจัดระบบระบบค่านิยม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก อาจจะยังยากที่จะสังเกตเห็นในระยะปฐมวัย
1. การรับรู้ เกิดจากการที่เด็กได้รับประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมแล้วเกิดความเข้าใจ ยินดีที่จะเรียนรู้ และสนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีการเตรียมตนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
2.การจัดระเบียบ หลังจากสร้างค่านิยม และยอมรับค่านิยมแล้ว จะนำมาคิดพิจารณาและรวบรวมค่านิยม นำมาจัดระบบระบบค่านิยม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก อาจจะยังยากที่จะสังเกตเห็นในระยะปฐมวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น