วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

การบันทึกข้อความครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ  

อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก

ควรให้ร่างกายได้รับไขมันที่พอเหมาะคือประมาณร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด 
ในเด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับน้ำมันพืชและไขมันจากสัตว์ และนม 
และควรเลือกใช้น้ำมันที่ให้กรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ได้แก่ 
น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันจากปลาทะเล
 เด็กวัย 1-3 ปี รับประทานไข่ได้วันละ 1 ฟอง
ควรให้เด็กรับประทานน้ำตาลแต่พอควรการรับประทานน้ำตาลทรายที่ใส่ในอาหาร 
ขนม และเครื่องดื่มมากเกินไปจะทำให้เกิดโทษ เช่น ฟันผุ 
และยังเป็นสาเหตุให้มีการสร้างไขมันไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น                     
 เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจขาดเลือดและโรคเบาหวานในอนาคต                                                                   ควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตประเภทธัญพืช
 ซึ่งเมื่อย่อยแล้วจะให้น้ำตาล ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้และยังได้รับสารอาหารชนิดอื่นเพิ่มเติมด้วย
 ควรให้เด็กรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้อาหารที่ให้
ใยอาหารเป็นส่วนของพืชที่ร่างกายย่อยไม่ได้ จึงเหลือเป็นกากอยู่ในลำไส้ 
ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ กระตุ้นการขับถ่ายของร่างกายให้สม่ำเสมอ
 มีการศึกษาพบว่าจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่สารพิษสัมผัสกับผนังลำไส้เป็นเวลานาน       
     ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้โป่งพอง ริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งบางชนิด 
โรคไขมันสูงในเลือดเมื่อเติบใหญ่ ผักที่มีประโยชน์สูง ได้แก่ผักที่มีสีเขียวสด เช่น
 ผักตำลึง ผักบุ้ง ผักคะน้า ฯลฯ ผักสีแดง สีเหลือง สีแสด เช่น มะเขือเทศสุก ฟักทอง 
เป็นต้น ในวันหนึ่งๆ ควรได้รับผักอย่างน้อย 1-2 ชนิด
 ควรให้เด็กรับประทานอาหารรสธรรมชาติงดเว้นอาหารรสจัดทุกชนิด 
ควรลดการใช้เกลือและอาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะอาหารรสเค็มจะมีความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคความดันโลหิตสูง อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว อาหารหมักดองอื่นๆ
 รวมถึงเครื่องดื่มบางชนิดที่มีโซเดียมสูงด้วย
 ควรให้เด็กรับประทานอาหารที่มีส่วนป้องกันโรคมะเร็งได้แก่ การเพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น
 ละเว้นอาหารที่ไหม้เกรียมอาหารที่มีความชื้นจนเกิดเชื้อรา จำกัดปริมาณไขมันโดยเฉพาะที่มาจากสัตว์ 
และไขมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัว ควรหลีกเลี่ยงอาหารใส่สีและสารเคมีควรให้
เด็กรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม และสะดวกแก่การรับประทานเนื่องจาก
ระบบทางเดินอาหารของเด็กยังเติบโตไม่เต็มที่ กระเพาะอาหารยังมีขนาดเล็ก 
การจัดอาหารให้เด็กจึงควรมีความพอเหมาะ เด็กที่เล็กมากควรแบ่งมื้ออาหารให้มากขึ้น
 ขนาดของอาหารควรหั่นเป็นชิ้นเล็กที่สะดวกในการตักและเคี้ยว 
นอกจากนี้เด็กในวัยนี้ยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องปริมาณของอาหารที่เหมาะสม
 บางวันอาจรับประทานได้มาก บางวันอาจรับประทานได้น้อย 
หากเด็กรับประทานอาหารน้อยผู้จัดอาหารไม่ควรวิตกกังวลมาก 
ควรหาวิธีจูงใจให้เด็กอยากรับประทานอาหารและถ้าเด็กไม่ยอมรับประทาน
ควรแยกอาหารชนิดนั้นออกไปก่อน ปล่อยให้เด็กได้ปรับตัวใน
การรับประทานอาหารมื้อต่อไป (กองโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุข, 2546)
ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ 
ให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอ ฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทุกชนิด
 เพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
 ในการปรุงอาหารของพ่อแม่ในแต่ละมื้อถ้าเป็นไปได้ควรให้เด็กได้เข้าร่วม
และให้เขาช่วยเหลือในสิ่งที่เหมาะสมตามวัย ให้เด็กได้สังเกตด้วยการใช้ประสาทสัมผัส
 ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในขณะอยู่กับครอบครัว เป็นการสร้างพฤติกรรมกา
รบริโภคที่เหมาะสมให้กับเด็ก




                 


                



         
                                                       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น