วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

การบันทึกข้อความครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ  

อาหารสำหรับเด็ก

ข้าวผัดสามสี
ส่วนประกอบ
ข้าวหอมมะลิ 1 ถ้วย
ไขไก่ 1 ฟอง
แครอท
ข้าวโพดหวาน
• ไส้กรอก
หมูสับ
น้ำตาล เกลือ
วิธีทำ
1. นำผักทั้งหมดมาล้าง หั่นแครอทเป็นชิ้นเล็กๆ แกะข้าวโพดเป็นเม็ด และหั่นไส้กรอก
2. นำผักทั้งหมดมานึ่งให้พอสุก
3. ตอกไข่ใส่ถ้วย ตีให้เข้ากัน
4. นำหมูมาสับ  
5. นำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันเล็กน้อย พอร้อนแล้วเทไข่ลงไปคนให้พอสุก แล้วนำข้าวเทใส่ลงไปผัด 
ปรุงรสเล็กน้อย ผัดให้เข้ากัน
6. ใส่แครอท ข้าวโพด ไส้กรอก และหมูสับผัดให้เข้ากัน
7. เมื่อผัดข้าวเสร็จเรียบร้อย ตักใส่จาน เตรียมให้ลูกน้อยทาน
ระยะเวลาในการทำ 20-30 นาที
 ฟักตุ๋นปลา
ส่วนประกอบ
ฟักอ่อนสับละเอียด 1/4 ถ้วย
น้ำซุป 1 1/2 ถ้วย
ปลาน้ำจืดเลือกก้างน้อยๆ
ซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. ต้มเนื้อปลากับน้ำซุปจนสุก ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ยกลง
2. ตักใส่ถ้วยให้ลูกรัก ใส่ฟักสับ (ลงนึ่งในลังถึงประมาณ 10 นาที) พร้อมทาน
ระยะเวลาในการทำ 15-30 นาที

กล้วยบวชชี
ส่วนประกอบ
  • กล้วยน้ำว้าสุกห่าม 10 ลูก
  • หัวกะทิ 2 ถ้วย
  • หางกะทิ 4 ถ้วย
  • น้ำตาลปึก 1 ถ้วย
  • เกลือป่น 1 ช้อนชา

วิธีทำ
นำมีดกรีดเปลือกกล้วยตามแนวยาว แล้วนำน้ำใส่หม้อต้มจนเดือด
 เมื่อน้ำเดือดแล้วใส่กล้วยลงต้มทั้งเปลือกประมาณ 15-20 นาที 
พอเปลือกกล้วยแตก ตักขึ้นพักไว้ให้เย็น
ปอกเปลือกกล้วย ตัดกล้วยเป็น 4 ชิ้น พักไว้
นำหางกะทิใส่หม้อ ใส่น้ำตาลปึก และเกลือป่น ตั้งไฟอ่อนๆ จนน้ำตาลละลาย
 ใส่กล้วยลงไปในหม้อ คนไปเรื่อยๆ ระวังอย่าให้กะทิไหม้ พอเดือดก็เติมหัวกะทิ
 และยกลงจากเตาทันที

                                                     












การบันทึกข้อความครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ  

อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก

ควรให้ร่างกายได้รับไขมันที่พอเหมาะคือประมาณร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด 
ในเด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับน้ำมันพืชและไขมันจากสัตว์ และนม 
และควรเลือกใช้น้ำมันที่ให้กรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ได้แก่ 
น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันจากปลาทะเล
 เด็กวัย 1-3 ปี รับประทานไข่ได้วันละ 1 ฟอง
ควรให้เด็กรับประทานน้ำตาลแต่พอควรการรับประทานน้ำตาลทรายที่ใส่ในอาหาร 
ขนม และเครื่องดื่มมากเกินไปจะทำให้เกิดโทษ เช่น ฟันผุ 
และยังเป็นสาเหตุให้มีการสร้างไขมันไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น                     
 เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจขาดเลือดและโรคเบาหวานในอนาคต                                                                   ควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตประเภทธัญพืช
 ซึ่งเมื่อย่อยแล้วจะให้น้ำตาล ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้และยังได้รับสารอาหารชนิดอื่นเพิ่มเติมด้วย
 ควรให้เด็กรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้อาหารที่ให้
ใยอาหารเป็นส่วนของพืชที่ร่างกายย่อยไม่ได้ จึงเหลือเป็นกากอยู่ในลำไส้ 
ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ กระตุ้นการขับถ่ายของร่างกายให้สม่ำเสมอ
 มีการศึกษาพบว่าจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่สารพิษสัมผัสกับผนังลำไส้เป็นเวลานาน       
     ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้โป่งพอง ริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งบางชนิด 
โรคไขมันสูงในเลือดเมื่อเติบใหญ่ ผักที่มีประโยชน์สูง ได้แก่ผักที่มีสีเขียวสด เช่น
 ผักตำลึง ผักบุ้ง ผักคะน้า ฯลฯ ผักสีแดง สีเหลือง สีแสด เช่น มะเขือเทศสุก ฟักทอง 
เป็นต้น ในวันหนึ่งๆ ควรได้รับผักอย่างน้อย 1-2 ชนิด
 ควรให้เด็กรับประทานอาหารรสธรรมชาติงดเว้นอาหารรสจัดทุกชนิด 
ควรลดการใช้เกลือและอาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะอาหารรสเค็มจะมีความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคความดันโลหิตสูง อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว อาหารหมักดองอื่นๆ
 รวมถึงเครื่องดื่มบางชนิดที่มีโซเดียมสูงด้วย
 ควรให้เด็กรับประทานอาหารที่มีส่วนป้องกันโรคมะเร็งได้แก่ การเพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น
 ละเว้นอาหารที่ไหม้เกรียมอาหารที่มีความชื้นจนเกิดเชื้อรา จำกัดปริมาณไขมันโดยเฉพาะที่มาจากสัตว์ 
และไขมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัว ควรหลีกเลี่ยงอาหารใส่สีและสารเคมีควรให้
เด็กรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม และสะดวกแก่การรับประทานเนื่องจาก
ระบบทางเดินอาหารของเด็กยังเติบโตไม่เต็มที่ กระเพาะอาหารยังมีขนาดเล็ก 
การจัดอาหารให้เด็กจึงควรมีความพอเหมาะ เด็กที่เล็กมากควรแบ่งมื้ออาหารให้มากขึ้น
 ขนาดของอาหารควรหั่นเป็นชิ้นเล็กที่สะดวกในการตักและเคี้ยว 
นอกจากนี้เด็กในวัยนี้ยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องปริมาณของอาหารที่เหมาะสม
 บางวันอาจรับประทานได้มาก บางวันอาจรับประทานได้น้อย 
หากเด็กรับประทานอาหารน้อยผู้จัดอาหารไม่ควรวิตกกังวลมาก 
ควรหาวิธีจูงใจให้เด็กอยากรับประทานอาหารและถ้าเด็กไม่ยอมรับประทาน
ควรแยกอาหารชนิดนั้นออกไปก่อน ปล่อยให้เด็กได้ปรับตัวใน
การรับประทานอาหารมื้อต่อไป (กองโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุข, 2546)
ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ 
ให้เด็กได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอ ฝึกให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ทุกชนิด
 เพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
 ในการปรุงอาหารของพ่อแม่ในแต่ละมื้อถ้าเป็นไปได้ควรให้เด็กได้เข้าร่วม
และให้เขาช่วยเหลือในสิ่งที่เหมาะสมตามวัย ให้เด็กได้สังเกตด้วยการใช้ประสาทสัมผัส
 ซึ่งจะทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในขณะอยู่กับครอบครัว เป็นการสร้างพฤติกรรมกา
รบริโภคที่เหมาะสมให้กับเด็ก




                 


                



         
                                                       

การบันทึกข้อความครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ  

การแสดงบทบาทสมมุติ


การเลี้ยงดูลูกแบบปล่อยปละละเลย

เราจะพบว่า บางครอบครัวเลี้ยงลูกแบบเข้มงวดกวดขันหรือ แบบเผด็จการ แต่บางครอบครัวอาจจะมีการเลี้ยงดูในแบบที่มี ลักษณะตรงกันข้าม คือปล่อยให้ลูกมีอิสระเสรีภาพ ที่จะทำ อะไร ๆ ตามใจตัวเอง ลูกจะทำผิดหรือทำถูกพ่อแม่ก็ไม่สนใจ สั่งสอนอบรม เราอาจเรียกการเลี้ยงดูแบบนี้ว่า การเลี้ยงลูกแบบ ปล่อยปละละเลย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพ่อแม่บางคนมีภารกิจใน การทำมาหาเลี้ยงชีพรัดตัวเกินไป จนไม่มีเวลาพอที่จะเอาใจใส่ ลูกอย่างใกล้ชิดได้ ลักษณะเช่นนี้อาจจะเกิดกับครอบครัวที่ร่ำรวย หรือยากจนก็ได้ บางครั้งพ่อแม่อาจจะชดเชยการขาดความเอาใจใส่ต่อลูกโดย การให้เงินลูกใช้ตามความพอใจ คบเพื่อนได้ตามสะดวก และ ดำเนินชีวิตตามความต้องการของตนเอง การเลี้ยงลูกแบบปล่อยปละละเลยนั้น ถ้าพิจารณาอย่างผิวเผิน แล้ว บางคนอาจคิดว่าเป็นวิธีการที่ดี เพราะคนเราน่าจะมีอิสระ เสรีภาพในตัวเองที่จะทำอะไร ๆ ตามที่ตนต้องการ แต่ความเป็นจริงนั้น การเลี้ยงดูลูกแบบนี้ก่อให้เกิดผลร้ายต่อ ตัวเด็กเอง และต่อสังคม มากกว่าเกิดผลดี ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่า คนเรากว่าจะเติบโตเป็นคนดี รู้จักสิ่งที่ถูกและผิด รู้จักสิ่งที่ควร และไม่ควรนั้น ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในแบบ อย่างที่ถูกที่ควรครอบครัวที่เลี้ยงลูกแบบปล่อยปละละเลย จะส่งผลให้เด็กเกิด นิสัยไม่ดีหลายประการ เช่น การเอาแต่ใจตนเอง ขาดระเบียบ วินัยขาดความมีสัมมาคารวะ ขาดความรับผิดชอบเป็นต้นและถ้า ครอบครัวใดให้เงินลูกไว้จับจ่ายตามความพอใจด้วยแล้ว ลูกมัก จะไม่เห็นคุณค่าของเงิน นอกจากนี้ ผลกระทบอาจจะเกิดขึ้นตามมาอีก เช่น การคบ เพื่อนที่ไม่ดี การไปมั่วสุมในสถานที่ไม่สมควรต่าง ๆ ตลอดจน อาจเป็นสาเหตุของการติดยาเสพติดได้















การบันทึกข้อความครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 27 มีนาคม  พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ
                       
 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพื่อให้สมองทำงานได้ดี

วิธีการเลี้ยงดูลูกให้มีความฉลาดและสมองดี ปัจจัยสำคัญคือ เวลาที่พ่อแม่ได้อยู่ใกล้ชิดลูกและมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ
 กับลูก ลองมาดูเคล็ดลับที่ช่วยให้สมองของลูกทำงานได้ดีแบบที่พ่อแม่สร้างได้กันคะ
1 สร้างสมองของลูกให้ทำงานดี คือ ดื่มน้ำให้มาก กินอาหารดี ๆ และนอนหลับให้เพียงพอสมอง” 
ประกอบด้วยน้ำถึง 85% และต้องการออกซิเจนมากถึง 20% ของออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายจึงจะสามารถ
ทำงานได้ดี ดังนั้น น้ำ และออกซิเจนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อสมอง
2 กระตุ้นประสาทสัมผัสผ่านการลงมือทำเมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบกับประสาทสัมผัสของลูก 
จะเกิดเป็นกระแสประสาทวิ่งไปสู่สมอง สมองจะรับรู้ข้อมูล และส่งข้อมูลไปยังอวัยวะ
ที่เกี่ยวข้องโดยผ่านเส้นใยสมองที่ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูล ดังนั้นเมื่อลูกได้รับการ
กระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยวิธีการที่เหมาะสม ผ่านการเรียนรู้และลงมือทำ 
ไม่ว่าจะเป็นในห้องเรียนหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
3 เล่านิทาน หรืออ่านหนังสือที่หลากหลายให้ลูกฟังนิทานเป็นสิ่งที่สร้างฝันและจินตนาการได้ดีสำหรับลูก
 เมื่ออ่านนิทานให้ลูกฟังจะทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดจินตนาการ
 และกลายเป็นคลังคำศัพท์มหาศาลทางด้านภาษาให้แก่ลูกด้วย
 คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกษะการฟังของลูกด้วยนิทานหลากหลายประเภท เช่น
 นิทานคำกลอนที่มีเสียงคล้องจองกันสนุกสนาน หรือการปลูกฝังจริยธรรม ศีลธรรมเพื่อให้เด็ก ๆ 
ได้ซึมซับสิ่งดีงามเหล่านั้นผ่านนิทาน
4 เล่นสีและสร้างสรรค์งานศิลปะงานศิลปะสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ 
ห้เด็กเสมอ ในเด็กอายุ 2 - 3 ปีควรเริ่มเล่นสีจากการระบายสีน้ำแบบ Wet on Wet เพราะเด็กจะรู้สึกสงบ
จากภายในเมื่อได้เฝ้าดูสีต่าง ๆ ที่ไหลรวมกัน แล้วจึงเขยิบเปลี่ยนเป็นสีเทียนแท่งอ้วน ๆ 
และสีไม้แท่งใหญ่ที่จับถนัดมือ การให้ลูกได้วาดเส้นระบายสีเป็นการฝึกใช้
กล้ามเนื้อมัดเล็กที่จะส่งผลให้สมองทำงานได้ดีขึ้น และยังเป็นการสร้างสมาธิ ความจดจ่อ มือตาสัมพันธ์กัน
5 ส่งเสริมให้ลูกได้เล่นดนตรี หรือกิจกรรมเคลื่อนไหวมีงานวิจัยพบว่าเสียงดนตรีสามารถ
เพิ่มความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลได้ และดนตรียังใช้พัฒนาสมองซีกขวาที่ทำหน้าที่เกี่ยว
กับการมองภาพรวมได้ดี การใช้กิจกรรมเข้าจังหวะหรือการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวง่าย ๆ 
โดยใช้ดนตรี ที่พ่อแม่สามารถทำกับลูกได้ เช่น ร้องเพลงกับลูก ช่วยกันคิดท่าทางประกอบเพลง 
ซึ่งนอกจากกระตุ้นสมองของลูกยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวที่ดีอีกด้วย
6 ทำอาหารด้วยกันการทำอาหารเป็นกระตุ้นสมองลูกได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ครบถ้วน
 ได้แก่ การใช้ตามองดูอาหารว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง จมูกรับรู้กลิ่น ลิ้นชิมรสชาติ 
หูต้องคอยฟังเสียงในการทอด ผัด
7 เล่นบทบาทสมมติการเล่นสมมติเป็นกิจกรรมที่เอื้อให้เด็กได้ใช้จินตนาการเป็นอย่างมาก 
ทำให้สมองได้คิดเชื่อมโยงจากสิ่งหนึ่งไปเป็นอีกสิ่งหนึ่งได้ การปล่อยให้ลูกได้เล่นสมมติ
ด้วยตัวเองโดยที่พ่อแม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในจินตนาการของลูกอิสระอยู่ในโลกที่เขาสร้าง
ขึ้นจะกระตุ้นให้สมองเกิดการเชื่อมโยงเป็นอย่างมาก และเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นไป
ได้ของการริเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ โดยไม่มีคำว่าอุปสรรคเข้ามายุ่งเกี่ยว
8 เล่นของเล่นที่พัฒนาทักษะและความคิดในสมองจะมีการหลั่งสารเคมีที่ทำให้เกิดความสุข
 ที่จะไปเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้สูงขึ้นอิทธิพลของการเล่นจึงเป็นที่
ยอมรับในระดับสากลว่าผลต่อพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
 แต่สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ควรหลีกเลี่ยงของเล่นสำเร็จรูปที่เล่นด้วยกลไกของมันเอง
 เพราะไม่เกิดการลงมือทำ ดังนั้นการเลือกของเล่นให้ลูกควรเลือกแบบที่
ลูกจะได้ลงมือทำด้วยจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ มากกว่าการเล่นของ
เล่นสำเร็จรูปที่ลูกแทบไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย
9 เปิดโอกาสให้ลูกได้แก้ปัญหาด้วยตัวเองพ่อแม่ที่เปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้การ
แก้ปัญหาด้วยตัวเอง จะทำให้เด็กไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค และรู้จักใช้
สมองส่วนหน้าที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ได้ แก้ปัญหาเป็น และสื่อสารความคิด
ของตนเองให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ลูกจะเรียนรู้ "การพึ่งตนเอง
10 ให้การสนับสนุนลูกในสิ่งที่ลูกชอบพ่อแม่ไม่ควรปล่อยโอกาสในขณะ
ที่ลูกมีความอยากรู้ผ่านไปเฉย ๆ ควรช่วยหาคำตอบมาอธิบายลูกในสิ่งที่เขาสงสัย
 เพราะจะช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจ และกระตุ้นให้สมองเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
 พ่อแม่ที่เพิกเฉยต่อการตอบคำถามของลูกจะเสียเปรียบครอบครัวที่คอยตอบคำถามลูก 
การมีต้นทุนชีวิตที่ไม่ต่างกันแต่มีศักยภาพที่ต่างกันนั้นเกิดขึ้นได้จากความใส่ใจของพ่อแม่นะคะ













วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561

การบันทึกข้อความครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 20 มีนาคม  พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ


การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย

การพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีจริยธรรมนั้น จะต้องใช้ระยะเวลา โดยเริ่มตั้งแต่วัยต้นของชีวิต
ทั้งนี้การพัฒนาจริยธรรมนั้นมีแนวทางการพัฒนาโดยอาศัยทฤษฎี
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา

วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย

เมื่อเลือกพฤติกรรมจริยธรรมที่ต้องการพัฒนาให้เด็กปฐมวัยได้แล้ว ผู้สอนจะนำทฤษฎีการพัฒนาจริยธรรม มาสู่การออกแบบการสอน ดังนี้
                1. การใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ ทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้สิ่งของที่เด็กพึงพอใจเสมอไป การให้รางวัลในที่นี้หมายรวมถึงการให้คำชมเชย ยกย่อง ยอมรับ การแสดงความชื่นชมที่เหมาะสม   ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป ส่วนการลงโทษก็มิได้หมายถึงการทำโทษทางกายและทางใจให้เด็กเจ็บปวด หรืออับอายขายหน้า อาจเป็นเพียงการงดหรือยกเว้นสิทธิบางอย่าง การไม่ให้ความสำคัญ หรือลดความสำคัญลง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการชี้แจงให้เหตุผล ทั้งนี้ ข้อแนะนำในการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีดังนี้
               1.1 ต้องยึดหลักความชัดเจนของข้อกำหนดว่าสิ่งใดเป็นพฤติกรรมดีหรือไม่ดี และต้องให้เด็กรับทราบ
                1.2 ยึดความเป็นระบบ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการชัดเจนว่า เมื่อใดจะได้รางวัล และเมื่อใดจะมีผลถึงการลงโทษ
                1.3 ยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย

การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยจะมีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน ดังนี้
                1. การรับรู้ เกิดจากการที่เด็กได้รับประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมแล้วเกิดความเข้าใจ ยินดีที่จะเรียนรู้ และสนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีการเตรียมตนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
               2.การจัดระเบียบ หลังจากสร้างค่านิยม และยอมรับค่านิยมแล้ว จะนำมาคิดพิจารณาและรวบรวมค่านิยม นำมาจัดระบบระบบค่านิยม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก อาจจะยังยากที่จะสังเกตเห็นในระยะปฐมวัย