วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

การบันทึกข้อความครั้ง


ที่การบันทึกข้อความครั้งที่8

วันอังคาร ที่13 มีนาคม พ.ศ. 2561
 เวลา 8:30-11:30 
 ความรู้ที่ได้รับ

สอบปลายภาค

เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก เช่น
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เมื่ออายุ 1 เดือนลูกจะมีพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วนของเด็กทารก
ทุกคนที่เห็นได้ชัดว่าเด็กเริ่มมีพัฒนาการการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นปกติตามวัย
พอ 2 เดือน ลูกจะชันคอเองได้นานขึ้นในท่าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ท่านอนคว่ำที่ต้องใช้ท้องพยุงไว้ตลอดเวลา
อายุได้ 5 เดือน เด็กจะตื่นตาตื่นใจสนุกไปกับการเล่นขยับนิ้วมือนิ้วเท้าตัวเองและเริ่มพลิกตัวกลับไปกลับมา


พัฒนาการด้านภาษา
เมื่อเข้าเดือนที่ 3 เวลาได้ยินเสียงแม่ลูกจะส่งเสียงอ้อแอ้ ๆ
ทักทายตามประสาเด็กหรือหยุดร้องไห้เมื่อได้ยินเสียงแม่
แค่นี้ก็ทำให้พ่อแม่ตื่นเต้นดีใจแล้วว่าลูกจำเสียงแม่ได้ พอเข้าเดือนที่ 6
จะออกเสียงอย่างอื่นด้วย เช่น บา ดา เป็นต้น สักขวบนึง ส่งเสียงเป็นคำคำได้สัก 6-7 คำ
เข้าใจคำสั่งสั้น ๆ หรือคำเดียวโดด ๆ ที่คุณใช้พูดกับเขาราว ๆ 60-70 คำ

พัฒนาการด้านปัญญา
อายุได้สัก 7- 8 เดือนเด็กจะใช้มือข้างหนึ่งหยิบของจากมืออีกข้างได้
และสนุกกับการเล่นจ๊ะเอ๋กับมือตัวเอง พอสักขวบนึง
เด็กจะเลียนแบบท่าทางการใช้มือของคนที่โตกว่าในการหยิบจับ คว้า
เลื่อนหรือผลักไสสิ่งของต่าง ๆ



นไหว เมื่ออายุ 1 เดือนลูกจะมีพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายบางส่วนของเด็กทารกทุกคนที่เห็นได้ชัดว่าเด็กเริ่มมีพัฒนาการการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นปกติตามวัย พอ 2 เดือน ลูกจะชันคอเองได้นานขึ้นในท่าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ท่านอนคว่ำที่ต้องใช้ท้องพยุงไว้ตลอดเวลา อายุได้ 5 เดือน เด็กจะตื่นตาตื่นใจสนุกไปกับการเล่นขยับนิ้วมือนิ้วเท้าตัวเองและเริ่มพลิกตัวกลับไปกลับมา พัฒนาการด้านภาษา เมื่อเข้าเดือนที่ 3 เวลาได้ยินเสียงแม่ลูกจะส่งเสียงอ้อแอ้ ๆ ทักทายตามประสาเด็กหรือหยุดร้องไห้เมื่อได้ยินเสียงแม่ แค่นี้ก็ทำให้พ่อแม่ตื่นเต้นดีใจแล้วว่าลูกจำเสียงแม่ได้ พอเข้าเดือนที่ 6 จะออกเสียงอย่างอื่นด้วย เช่น บา ดา เป็นต้น สักขวบนึง ส่งเสียงเป็นคำคำได้สัก 6-7 คำ เข้าใจคำสั่งสั้น ๆ หรือคำเดียวโดด ๆ ที่คุณใช้พูดกับเขาราว ๆ 60-70 คำ พัฒนาการด้านปัญญา อายุได้สัก 7- 8 เดือนเด็กจะใช้มือข้างหนึ่งหยิบของจากมืออีกข้างได้ และสนุกกับการเล่นจ๊ะเอ๋กับมือตัวเอง พอสักขวบนึง เด็กจะเลียนแบบท่าทางการใช้มือของคนที่โตกว่าในการหยิบจับ คว้า เลื่อนหรือผลักไสสิ่งของต่าง ๆ

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561


การบันทึกข้อความครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 6 มีนาคม  พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ


ความหมายของการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
พ่อแม่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเลี้ยงดูเด็ก ปฏิบัติต่อเด็กที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา

ความจำเป็นที่ต้องมีพ่อ
  1. พ่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกชาย
  2. เด็กหญิงจะได้รู้จักบทบาทของผู้ชาย
  3. ความเข้มเเข็ง เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้นำเรื่องต่างๆ จะช่วยให้ลูกชายเกิดศรัทธา                 และเลียนแบบเช่นนั้น
ความจำเป็นที่ต้องมีแม่
  1. คอยดูแลลูกให้ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน
  2. สอนให้ลูกรู้จักเก็บรักษาสมบัติ ฝึกความเป็นระเบียบเรียบร้อย

บทบาทแหละหน้าที่ของพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดู

  1. ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา
  2. สนองความต้องการของเด็กทุกด้าน
  3. การให้แรงเสริมและการลงโทษ
  4. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่เด็ก

บทบาทของพ่อแม่ที่ไม่เหมาะสมในการอบรมเลี้ยงดู
  1. การตี
  2. การขู่
  3. การล้อเลียน
  4. การคาดโทษ
  5. การให้สินบน
  6. การทำโทษรุนแรงเกินไป


การอบรมเลี้ยงดูครอบคลุมถึงการแนะนำสั่งสอน. ฝึกฝน ที่มุ่งให้เด็กประพฤติดี มีระเบียบวินัย. รู้จักควบคุมตนเอง มีความรับผิดชอบ และการดูแล. เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กทั้งกายและใจ. โดยมุ่งให้เด็กมีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรงไม่มีโรค. ไม่พิการ อารมณ์แจ่มใส
พัฒนา เด็กปฐมวัย 0 5 ปี รวมทั้งการให้ความรู้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ทั้งภาครัฐ. เอกชน 











การบันทึกข้อความครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ

 บทความ เรื่องการศึกษาปฐมวัยแบบเตรียมความพร้อม

 การจัดการศึกษาปฐมวัยแบบเตรียมความพร้อม  เป็นลักษณะของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ยึดหลักการตอบสนองความต้องการของผู้เรียน  โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กอย่างเหมาะสมและเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน
การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย
1.             การจัดสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย
2.             การจัดตารางเวลาในกิจวัตรประจำวันที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการทางกายของเด็ก
3.             การจัดกิจกรรมที่ได้สัดส่วนที่พอเหมาะในส่วนที่เป็นกิจกรรมกลางแจ้งกับกิจกรรมในร่ม
4.             การให้ได้รับอาหารและน้ำดื่มอย่างเพียงพอ  เนื่องจากเด็กจะใช้เวลาอยู่ในสถานศึกษาทั้งวัน  จึงต้องจัดอาหารให้เด็กตามเวลาที่ร่างกายของเด็กต้องการ  เช่น  อาหารว่างเช้า -  บ่าย  และอาหารกลางวัน
5.             การจัดพื้นที่ในห้องเรียนให้มีความสะดวกต่อการทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวและมีที่ทำงานส่วนตัว  หรือการทำงานตามลำพัง
การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์
1.             การเข้าใจถึงสภาพทางอารมณ์ของเด็กและยอมรับว่าเป็นลักษณะของพัฒนาการทางอารมณ์ตามปกติของเด็ก  ซึ่งได้แก่อารมณ์รัก  โกรธ  กลัว  ดีใจ  เสียใจ  อิจฉา  เครียด   วิตกกังวลและคับข้องใจ
2.             ครูต้องเข้าใจและรับรู้ถึงการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กบางคนที่อาจจะแตกต่างไปจากเด็กคนอื่น   เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
3.             ฝึกฝนให้เด็กได้เข้าใจถึงการแสดงออกทางอารมณ์ที่ผู้อื่นไม่ชอบ  หรือไม่ยอมรับ
4.             สนทนาพูดคุยให้เด็กเข้าใจถึงความรู้สึกของคนอื่น ๆ ที่มีต่อการแสดงพฤติกรรมทางอารมณ์ทั้งในทางบวกและทางลบ  ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เด็กเข้าใจถึงการใช้ชีวิตในสังคม
การส่งเริมพัฒนาการทางสติปัญญา
1.             การวางแผนกิจกรรมที่จะให้เด็กเข้าใจสิ่งต่างโดยรอบ  รวมทั้งการเข้าใจสิ่งต่าง ๆ  ที่กว้างขวางกว่าเดิม    ทั้งนี้ครูสามารถวางแผนกิจกรรมที่สนับสนุนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง  สิ่งต่าง ๆ รอบตัว  และธรรมชาติรอบตัว
2.             การจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้จากการฝึกทักษะที่ส่งเสริมสติปัญญาของเด็ก  เช่น การสังเกต  การแก้ปัญหา  การสืบค้น  การเสาะหาความรู้
3.             การเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเรื่องที่จะเรียนรู้ตามความสนใจของตนเอง  ทั้งนี้การให้เด็กได้เลือกเรื่องที่จะเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจ
การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
นอกเหนือจากการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดังกล่าวแล้ว  การจัดการศึกษาปฐมวัยแบบเตรียมความพร้อม  ยังสนับสนุนเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กด้วยให้อิสระแก่เด็กในการแสดงซึ่งความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ  ทั้งการคิด  การกระทำ  ผลงานสนับสนุน  ชมเชย  ยกย่อง  ผลงานที่แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก  รวมทั้งการแสดงพฤติกรรมถึงการแก้ปัญหา  หรือการกระทำที่สร้างสรรค์ที่แตกต่างไปจากการคิด/การกระทำของผู้อื่น












วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2561



การบันทึกข้อความครั้งที่ 5


วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2561
 เวลา 8.30-11.30
 ความรู้ที่ได้รับ

 การเรียนรู้เกี่ยวกับ ความต้องการของเด็กปฐมวัย


พัฒนาการด้านร่างกาย

กระโดดขึ้นลงอยู่กับที่ได้
 ใช้กรรไกรมือเดียวได้
 กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย
 รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง
 เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
 กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
 ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี
 ยืดตัว คล่องเเคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
 กลัวการพลัดพรากจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง
 ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ
 แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมบางสถานการณ์
 ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

 พัฒนาการด้านสังคม

 รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
 รู้จักการรอคอย
 แบ่งของให้คนอื่น
 เก็บของเล่นเข้าที่ได้
 ปฎิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
 เล่นและทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
 พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ ทำความเคารพ

 พัฒนาการด้านสติปัญญา

บอกชื่อของตนเองได้
 ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
 รู้จักใช้คำถาม อะไร
 อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
 จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้
 พยายามแก้ไขด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
 สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
 รู้จักใช้คำถามว่าทำไม อย่างไร
 เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม









          






 การบันทึกข้อความครั้งที่ 4


วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2561

เวลา 8.30-11.30

ความรู้ที่ได้รับ

การเรียนรู้เกี่ยวกับ ความต้องการของเด็กปฐมวัยให้ศึกษา

หาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง 

  1. ความหมายและความต้องการของเด็กปฐมวัย 
  2. ครูจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร
  3. พ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีวิธีตอบสนองความต้องการอย่างไร
  4. หากไม่มีการตอบสนองความต้องการจะมีผลลัพธ์อย่างไร
แบ่งกลุ่มออกเป็น4กลุ่ม
มีการรวบรวมและจัดทำแผนผังการเรียนรู้
แต่ละกลุ่มทำแผนผังความรู้ เพื่อได้ออกมานำเสนอ
ตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ






  การบันทึกข้อความครั้งที่ 3


วันอังคารที่ 30 มกราคม  พ.ศ.2561

เวลา 8.30-11.30

ความรู้ที่ได้รับ


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง 
ทฤษฎีการเรียนรู้ 1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
  • การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
  • การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี